การศึกษาขั้นพื้นฐาน : คำถามที่พบบ่อย
1. คำถาม : ต้องอายุกี่ปีถึงจะมาเรียน กศน.ได้1. คำตอบ : อายุ 16 ปี หรือจบการศึกษาภาคบังคับมาแล้ว ( ม.3 )ครับ
2. คำถาม : อายุไม่ถึง 16 ปี แต่มีความจำเป็นไม่สามารถเรียนในโรงเรียนได้ มาเรียน กศน. ได้ไหมครับ แล้วต้องทำ อย่างไร
2. คำตอบ : ถ้ายังไม่ จบ ม.3 อายุไม่ถึง 16 ปี มีความจำเป็นต้องเรียน กศน. ต้องไปติดต่อที่เขตพื้นที่การศึกษาตามที่ ทะเบียนบ้านเราตั้งอยู่ในเขตพื้นที่นั้น สามารถสอบถามจากโรงเรียนที่เราออกมาก็ได้ แต่ที่ เขตคลองเตยติดต่อที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2ตั้งอยู่ที่ 1128 ถนนลาดพร้าว แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 (ในบริเวณโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์) โทรศัพท์ 0-2930-4490-2 ครับ นำเอกสารมาแนบใบสมัครเลยครับ
3. คำถาม : ลูกเรียนจบ ม.5 จากโรงเรียนเดิมมา แล้วต้องออกจากโรงเรียน จะมาเรียน กศน.ต้องเรียนใหม่หมดไหม แล้วต้องใช้เวลานานขนาดไหนค่ะ
3. คำตอบ : สามารถนำมาเทียบโอนผลการเรียนได้ครับ แต่เรื่องระยะเวลาปกติ กศน.ระดับ ม.ปลาย 2 ปี ถ้าเทียบโอนตามระเบียบแล้วได้มาก เวลาในการเรียนจะน้อยลงครับ
4. คำถาม : สถานที่เรียน กศน.เขตคลองเตย อยู่ที่ไหนค่ะ
4. คำตอบ : สถานที่เรียน เรามีศูนย์การเรียนชุมชน หลายที่ครับ ยกตัวอย่าง เช่น โรงเรียนปทุมคงคาซึ่งเดินทางสะดวก ปลอดภัย ,ศูนย์การเรียนชุมชนแฟลต 18 ,มูลนิธิรวมน้ำใจแฟลต 12,ศูนย์การเรียนชุมชนวัดคลองเตยใน และที่อื่นๆ
5. คำถาม : กศน.เปิดรับสมัครตอนไหนค่ะ
5. คำตอบ : กศน.รับสมัครใน ช่วงเดือน เมษายน และช่วงเดือน ตุลาคม ครับ สอบถามได้ที่ 02-3821376 ครับ สถานที่รับสมัคร 1 ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเอกมัย ( ท้องฟ้าจำลอง )แขวง/เขตคลองเตย
6. คำถาม : เรียน กศน. เสียค่าเทอม ค่าหนังสือเท่าไร
6. คำตอบ : ไม่ต้องเสีย ครับ สมัครฟรี เพราะรัฐบาลสนับสนุนให้แล้วครับ
7. คำถาม : ทะเบียนบ้าน อยู่ จังหวัดอื่น สมัครเรียนได้ไหมค่ะ
7. คำตอบ : ได้ครับ
8. คำถาม : อายุมากแล้วจะเรียน กศน.ได้ไหมค่ะ
8. คำตอบ : ได้ครับ กศน.เขตคลองเตย มีนักศึกษาอายุมากสุดถึง 70 ปี และเรียนได้เป็นอย่างดีครับ
9. คำถาม : กศน.มีที่ไหนบ้างครับ
9. คำตอบ : มีทุกเขตหรืออำเภอเลยครับ และทุกตำบลแล้วครับ เลือกเรียนที่สะดวกได้เลยครับ
10. คำถาม : N-NET คืออะไร
10. คำตอบ : N-NET (Non-Formal National Education Test) หมายถึง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา นักศึกษาต้องเข้าสอบ ก่อนจบน่ะครับ
11.คำถาม : เรียน กศน. แล้วเข้า มหาลัย ได้ไหม
11.คำตอบ :
ส่วนการแอดมิชชั่น ( รับโดยส่วนกลาง ) นั้น สิ่งที่ต้องมีคือ
1. GPAX : คะแนนเฉลี่ยสะสมจากทุกภาคเรียนในระดับ ม.ปลาย ( ต่างจาก GPA โดย GPA คือคะแนนเฉลี่ยในแต่ละภาคเรียน ) ซึ่ง “ระดับผลการเรียนเฉลี่ย” ในใบ รบ.ของ กศน. คือ GPAX
2. คะแนน O-NET ( รับสมัครสอบประมาณช่วงวันที่ 1-15 พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับสังกัด กศน. และอื่นๆ ลองอ่านในเว็บ สทศ.http://www.niets.or.th/) จะสอบประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ( ใช้คะแนน N-NET แทนไม่ได้ )
3. คะแนน GAT PAT แยกเป็นหลายฉบับ แต่ละคณะกำหนดให้สอบ GAT PAT ต่างกัน อยากเข้าคณะไหนต้องหาข้อมูลก่อน จากนั้นก็ลงสอบวิชาที่เกี่ยวข้อง
การสอบ GAT (วิชาความถนัดทั่วไป) และ PAT (ความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ) จะมีการสอบ 2 ครั้ง สามารถเลือกคะแนนครั้งที่ดีที่สุดไปใช้ในการ Admissions ( คะแนน GAT/PAT ครั้งที่ 1 ยังสามารถนำไปยื่นสมัครรับตรงหลายๆ โครงการได้ด้วย ) สมัครสอบได้ที่ http://www.niets.or.th/
( ถ้าจะไปสมัครสอบตรง ในบางคณะ บางมหาวิทยาลัย ต้องสอบ 7 วิชาสามัญอีกด้วย คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ไม่ใช่ N-NET ไม่ใช่ O-NET และก็ไม่ใช่ GAT PAT ด้วย ยากกว่า O-NET แต่ง่ายกว่า GAT PAT ใช้ประกอบการสมัครรับตรงในบางคณะ บางมหาวิทยาลัย )
ผู้จัดสอบ O-NET GAT PAT และ 7 วิชาสามัญ คือ สทศ. โดยนักศึกษา กศน.ต้องสมัครสอบกับ สทศ. ด้วยตนเอง ไม่ผ่านสถานศึกษา กศน.
( สอบถามเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊คศูนย์ข่าวการศึกษาไทย หรือที่อีเมล enn.news2013@hotmail.com )